เมนู

กิจอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนแต่การเทน้ำย้อมเป็นต้นนั้น เพื่อประโยชน์แก่
การย้อม หรือว่าภายหลัง กลับย้อมใหม่ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุทุกๆ ประโยค
ในฐานะทั้งปวง. แม้ในการทุบ ก็พึงทราบประโยคอย่างนั้น.
ข้อว่า อญฺญาติกาย อญฺญติสญฺญี ปุราณจีวรํ โธวาเปติ ความาว่า
ถ้าแม้นว่า ภิกษุไม่พูดว่า เธอจงซักจีวรนี้ให้เรา, แต่ทำกายวิการ เพื่อ
ประโยชน์แก่การซัก ให้ที่มือด้วยมือ หรือวางไว้ใกล้เท้า หรือฝาต่อ ๆ
ไป คือ ส่งไปในมือของนางสิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสิกา
และเดียรถีย์ เป็นต้น หรือว่า โยนไปในที่ใกล้แห่งนางภิกษุณีผู้กำลังซัก
อยู่ที่ท่าน้ำ, คือ ในโอกาสภายใน 12 ศอก จีวรเป็นอันภิกษุใช่นาง
ภิกษุณีให้ซักเหมือนกัน. ก็ถ้าว่าภิกษุละอุปจารวางไว้ห่างจากร่วมในเข้ามา
และนางภิกษุณีนั้น ซักแล้วนำมา, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ. ภิกษุให้จีวร
ในมือแห่งนางสิกขมานาก็ดี สามเณรก็ดี อุบายสิกาก็ดี เพื่อประโยชน์แก่
การซัก, ถ้านางสิกขมานานั้น อุปสมบทแล้ว จึงซัก, เป็นอาบัติเหมือน
กัน . ให้ไว้ในมือแห่งอุบาสก, ถ้าอุบาสกนั้น เมื่อเพศกลับแล้ว บรรพชา
จีวรที่ให้ในมือของสามเณร หรือของภิกษุในเวลาเพศกลับ ก็มีนัยอย่างนั้น
เหมือนกัน.

[ว่าด้วยอาบัติ และอนาบัติในใช้ให้ซัก]


ในคำว่า โธวาเปติ รชาเปติ เป็น มีวินิจฉัยดังนี้:-
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ด้วยวัตถุแรก เป็นทุกกฏแก่ภิกษุด้วยวัตถุที่ 2,
เมื่อภิกษุให้กระทำทั้ง 3 วัตถุ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยวัตถุแรก เป็นทุกกฏ